เทพีอธีนา หนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส เป็นเทพีแห่งปัญญา
เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของ ซุส ประมุขแห่งเหล่าทวยเทพ
ในขณะที่กำลังประชุมเหล่าเทพที่เทือกเขาโอลิมปัส เมื่อจู่ ๆ
ซูสเกิดปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงได้ให้เฮเฟสตัส เทพแห่งการตีเหล็กใช้ขวานผ่าศีรษะออก
ปรากฏเป็นอธีนาที่สวมชุดเกราะพร้อมหอกกระโดดออกมา เทพีอธีนาเป็นธิดาของเทพีเมทิส
ซึ่งถูกซูสกลืนเข้าไปในท้องตั้งแต่ยังมีครรภ์แก่
เนื่องจากคำทำนายที่ว่าบุตรที่เกิดจากนางจะเป็นผู้โค่นบัลลังก์ของซูส
แต่แม้ว่าอธีนาจะถือกำเนิดมาพร้อมกับคำทำนายนั้น พระนางก็เป็นหนึ่งในลูกรักของซูส
ว่ากันว่าฮีราอิจฉาอธีนาที่ถือตัวว่าเป็นผู้กำเนิดมาจากซูสโดยตรง
และนอกจากอธีนาจะเป็นเทพีแห่งปัญญาแล้ว
ยังเชื่อกันว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย
เนื่องจากเทวรูปของพระนางมักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์และหอกที่มือซ้าย
และถือไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา โดยที่ชื่อกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ
ก็มีที่มาจากพระนามของนาง ชื่อเต็มของอธีนาคือ พัลลัสอธีนา (Pallas Athena) ซึ่งชื่อพัลลัส
มาจากเพื่อนมนุษย์ของอธีนาซึ่งเธอพลั้งมือสังหารไปขณะเล่นด้วยกัน จึงได้นำชื่อของพัลลัสมาใส่นำหน้าเพื่อเป็นที่ระลึก
อธีนาเป็นตัวแทนของสงครามที่เอาชนะด้วยกลยุทธหรือความถูกต้อง ซึ่งต่างจากแอรีส
ที่เป็นเทพสงครามที่ใช้กำลังมากกว่า
นอกจากนี้ อธีนา
ยังเป็นหนึ่งในสามเทพีพรหมจรรย์ด้วย ซึ่งประกอบด้วย พระนาง, อาร์เทมีส
เทพีแห่งดวงจันทร์ และ เฮสเทีย เทพีแห่งครัวเรือน
ชื่อเมืองเอเธนส์
ตามตำนานกรีกเล่าว่า
ที่มาของชื่อเมืองเอเธนส์ (Athens) นั้น
มาจากการที่ชาวกรีกจะตั้งชื่อเมืองแต่ไม่รู้จะใช้ชื่ออะไร โพไซดอน เทพแห่ง
มหาสมุทร ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของอธีนา
ใช้ตรีศูลอาวุธของตนสร้างม้าขึ้นมา(บ้างก็ว่าสร้างน้ำพุขึ้น)
ชาวเมืองต่างพากันชื่นชมม้าเป็นอันมาก แต่เทพีอธีนาได้เนรมิตต้นมะกอกขึ้นมา
ซึ่งสามารถใช้ผลเป็นประโยชน์ได้ นอกจากนี้ มะกอก ยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ
ในขณะที่ม้าเป็นสัญลักษณ์ของสงคราม ชาวเมืองจึงตกลงใช้ชื่อเมืองว่า เอเธนส์
ตามชื่อของพระนาง และมะกอกก็กลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญอันดับหนึ่งของกรีซมาจนปัจจุบัน
อาจกล่าวได้ว่า อธีนา เป็นเทพที่ชาวกรีกให้ความนับถือมากที่สุดก็ว่าได้
ในสมัยโบราณมีการสร้างมหาวิหารเพื่อถวายแด่พระนาง คือ
วิหารพาเธนอนซึ่งตั้งอยู่ที่เนินอะโครโปลิส ที่กรุงเอเธนส์ในปัจจุบัน ในการท่องเที่ยวของกรีซ
จะพบรูปปั้นขนาดเล็กของอธีนาขายเป็นที่ระลึกอยู่ทั่วไป
ในวัฒนธรรมสมัยนิยมก็ถูกอ้างถึงในการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นต้น เช่น เรื่อง เซนต์เซย่า
เมื่ออธีนาได้จุติลงมาเป็นเด็กผู้หญิงที่ชื่อ คิโค ซาโอริ
ทำหน้าปกป้องโลกจากเทพองค์อื่น ๆ ที่มีความปรารถนาจะครองโลก
ซึ่งเป็นตัวเอกฝ่ายหญิงของการ์ตูนเรื่องนี้ทีเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น